ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลธรณีวิทยาสนับสนุนภารกิจถ้ำหลวง
สรุปสถานการณ์ 29 มิถุนายน 2561 เวลา 9.30 น. Day 7
การดำเนินงานของ ทธ.
- ทีมในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย
- ทีม 1 คุณจิ๊บ ทบ.เข้าพื้นที่โพรง/ปล่อง 90 ม.ในพื้นที่ ข. เพื่อหาช่องทางหย่อน borehole camera สำรวจข้อมูลภายในโพรงถ้ำ ทำงานร่วมกับทีม 2 เริ่ม 7 โมงเช้า
- ทีม 2 ผชช.ชัยพร เดินทางขึ้นยอดเขาตรวจเช็คโพรง/หาจุดเจาะในแนวดิ่ง และจุดวางเครื่องเจาะ ร่วมกับหน่วย อส. นัดที่กองบัญชาการ 7.00 น.เดินทางพร้อมคุณจิ๊บ
- ทีม 3 ภูผา และศรัณย์ จาก ทธ. ทีม ม.เกษตร 6 คน เดินเท้าขึ้นเขาทำ Resistivity survey สแกนหาโพรงในพื้นที่ ข. พร้อมทีมพันธมิตรนำเครื่องมือขึ้นเตรียมพร้อม โดยมีทหารนำทางอำนวยความสะดวกและช่วยเดินสายไฟ นัดที่ บ.ผาหมี 6 โมงเช้า
- ทีม 4 ภัคพงษ์ ณรงค์ฤทธิ์ และรัสสรินทร์ เข้าสำรวจฝายธรรมชาติที่อาจกั้นการไหลของน้ำในถ้ำสายทอง และจุดน้ำมุดบริเวณถ้ำผาหมี
- ผอ.นิวัติ และสุธี เตรียมพร้อมที่กองอำนวยการเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างทีมงานศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลธรณีวิทยาสนับสนุนภารกิจถ้ำหลวง และกองอำนวยการ รวมทั้งคอยประสานและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ 4 ทีม
- ทีมงานศูนย์ปฏิบัติการณ์ข้อมูลธรณีวิทยาสนับสนุนภารกิจถ้ำหลวง
- ทีม ESRI / ทธ. จัดทำ cross section เพื่อหาระยะทางในแนวดิ่งจากบนเขาถึงพื้นถ้ำ/ความหนาของผนังถ้ำเพื่อการเจาะแนวข้าง
- ปรับปรุง Base map
- ESRI จัดทำข้อมูลลักษณะภูมิประเทศ 3 มิติ จากข้อมูล DNC ปี 2555 ของกรมแผนที่ทหาร และจะเผยแพร่บน web site ของกรมทรัพยากรธรณี เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ใช้ประโยชน์ต่อไป
- ทีม ESRI / ทธ. กำหนดตำแหน่งโพรง/ปล่อง/หลุมยุบ จากการแปลความหมายข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง ในพื้นที่ ข และ ค เพิ่มเติม
- ทีม ESRI / ทธ. กำหนดแนวทางน้ำ และทิศทางการไหลของทางน้ำ ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งถ้ำอื่นๆ ข้างเคียง
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=475799726176045&id=165599417196079