ศูนย์ปฏิบัติการณ์ข้อมูลธรณีวิทยาสนับสนุนภารกิจถ้ำหลวง อัพเดตสถานการณ์ วันที่ 28 มิถุนายน 2561 ณ เวลา 19.30 น. เป็นวันที่ 6
การดำเนินงานของกรมทรัพยากรธรณี
- ทีมในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย
- ทีมกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ใช้ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการณ์ค้นหาผู้ศูนย์หาย ถ้ำหลวงนางนอน ออกสำรวจโพรงหินปูนที่คาดว่าจะอยู่เหนือถ้ำ เพื่อให้ทีมกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.) ไปสำรวจภายในโพรงโดยใช้ borehole camera
- ทีมเจาะระบายน้ำ ทธ.และ ทบ เข้าตรวจสอบพื้นที่บริเวณใกล้ปากถ้ำแล้ว พร้อมที่จะดำเนินการเจาะ
- บริษัทเอกชนที่จะเข้ามาเจาะ รอเคลียร์พื้นที่
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)/วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ(วสท.) จะเข้า สำรวจธรณีฟิสิกส์ (resistivity ) กับปภ. เพื่อกำหนดจุดเจาะเหนือแนวถ้ำ ในพื้นที่ ข.
- ทีมงานศูนย์ปฏิบัติการณ์ข้อมูลธรณีวิทยาสนับสนุนภารกิจถ้ำหลวง
- ทีม ESRI / ทธ. จัดทำ cross section เพื่อหาระยะทางในแนวดิ่งจากบนเขาถึงพื้นถ้ำ/ความหนาของผนังถ้ำเพื่อการเจาะแนวข้าง
- ปรับปรุง Base map
- กำหนดตำแหน่งโพรง/ปล่อง/หลุมยุบ จากการแปลความหมายข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง โดยสามารถกำหนดตำแหน่งที่คาดว่าจะเป้นปล่อง/หลุมยุบ 3 บริเวณ ได้แก่
- 🚹พื้นที่ ข 2 จุด (เหนือตำแหน่งใกล้พัทยา บีช )
- จุด ข1 พิกัด 589002 2253117
- จุด ข2 พิกัด 588886 2252610
- 🚹พื้นที่ ค
- จุด ค4 พิกัด 588849 2251375
- 🚹พื้นที่ ข 2 จุด (เหนือตำแหน่งใกล้พัทยา บีช )
- พื้นที่สำรวจเพิ่มเติม จากทีมงานภาคสนาม
- จุดที่คาดว่าจะเป็นบริเวณเติมน้ำเข้าถ้ำ พิกัด 589390 2255100 เพื่อหาวิธีการเบี่ยงทางน้ำ
- จุดที่คาดว่ามี artificial dam ในถ้ำสายทอง (พิกัดปากทางเข้าถ้ำ 590116 2251976) ทางตอนใต้ของถ้ำหลวง เพื่อหาทางระบายน้ำจาก artificial dam ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำในถ้ำหลวงได้
- จัดทำข้อมูล lineament
- ESRI จัดทำข้อมูลลักษณะภูมิประเทศ 3 มิติ จากข้อมูล DNC ปี 2555 ของกรมแผนที่ทหาร และจะเผยแพร่บน web site ของกรมทรัพยากรธรณี เพื่อให้หน่วยงานต่างๆใช้ประโยชน์ต่อไป
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=475292529560098&id=165599417196079